มีผู้กล่าวไว้ว่า ” Hard Skill ทำให้คุณได้สัมภาษณ์งาน แต่คุณจะได้งานและรักษางานจนกระทั่งเจริญรุ่งเรืองต่อไปได้ จำเป็นต้องมี Soft Skill ” คำกล่าวนี้จริงมั้ย? มาดูกัน
เวลาเราเรียนหนังสือเมื่อจบหลักสูตรก็นำไปประกอบวิชาชีพ เช่น วิศวกร = สามารถสร้างตึกได้ สถาปนิก = สามารถออกแบบได้ โปรแกรมเมอร์ = สามารถเขียน code ได้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นทักษะที่เรียกว่า “ Hard Skill ” ( ความสามารถด้านอาชีพ )
ส่วนทักษะอีกด้านหนึ่งเรียกว่า “ Soft Skill ” ( ความสามารถด้านสังคม ) เช่น การใช้ภาษา การติดต่อสื่อสาร ความเป็นมิตร การมองโลกในแง่ดี การแสดงออกทางสังคม บุคลิก เป็นต้น
จริงอยู่ที่ Hard Skill มีความสำคัญต่อการเปิดโอกาสให้คุณ แต่ Soft Skill คือตัววัดว่าคุณจะสามารถเปลี่ยนโอกาสนั้นเป็นความสำเร็จได้หรือไม่??
Soft Skills คืออะไร?
Soft Skills เป็นศัพท์ที่ใช้ในวงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หมายถึง ทักษะด้านอารมณ์และการบริหารจัดการความคิด ซึ่งถือเป็นทักษะที่เกี่ยวข้องกับคน
ทักษะนี้อาจไม่เกี่ยวข้องกับความชำนาญในงานด้านใดด้านหนึ่งโดยตรง แต่เป็นตัวผลักดันให้การทำงานประสบความสำเร็จและก้าวหน้ามากขึ้น
Soft Skills คือ คุณลักษณะส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) เช่น ทักษะการสื่อสาร การแก้ปัญหาความขัดแย้ง การจูงใจ การเจรจาต่อรอง การคิดเชิงกลยุทธ์ การสร้างทีมงาน ซึ่งแตกต่างจาก Hard Skills ที่เป็นทักษะความรู้ทางวิชาชีพโดยตรง
1. ทักษะการติดต่อระหว่างบุคคล ( Interpersonol skill ) คือ การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลในองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้อง
2. จิตวิญญาณของความเป็นทีม ( Team spirit ) คือ การทำงานเป็นทีม ทำไปอย่างพร้อมเพรียงกัน
3. มารยาททางสังคม ( Social grace ) คือ การสร้างความประทับใจในเบื้องต้นมีมารยาทในการเข้าสังคม มีศิลปะในการพูด สิ่งไหนควรพูดสิ่งไหนไม่ควรพูด
4. ธรรมเนียมทางธุรกิจ ( Business etiquette ) คือ ธรรมเนียมการปฏิบัติตัวขององค์กรนั้น ๆ เช่น ไม่ทะเลาะกันในเวลางาน เป็นต้น
5. ทักษะการต่อรอง ( Negotiation skills ) คือ การต่อรองเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของทั้งสองฝ่าย
6. คุณสมบัติด้านพฤติกรรม ( Behavioural traits ) คือ ทัศนะคติ แรงจูงใจ การบริหารเวลา เป็นต้น
ฝึกตนอย่างไรให้มี Soft Skill
1. เป็นส่วนหนึ่งของทีม
2. ถามคนใกล้ชิดเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ดีและพฤติกรรมที่ต้องปรับปรุงตนเอง
3. สามารถบริหารเวลาได้ดีเพียงใด
4. มีปฏิกิริยาต่อคำวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร
5. ใช้ชีวิตอย่างมีสติ
ข้อมูลดีๆ จาก https://www.blockdit.com/articles/603a13b02821110c03b7eb90